7. หลวงพ่อผล วัดเซิงหวาย


หลวงพ่อผล วัดเซิงหวาย


"พระราชนันทาจารย์" หรือหลวงปู่ผล อกฺกโชติ เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดเวตวันธรรมาวาส และอดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะเขตพญาไท กรุงเทพฯ เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา มีความวิริยอุตสาหะในการปฏิบัติสมณกิจ สร้างคุณูปการทั้งในด้านการศึกษาและการสร้างวัด มีผลงานปรากฏต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวางอย่างมากมาย

ท่านที่นิยมพระเครื่องหรือเครื่องรางของขลังคงรู้จักหลวงพ่อผล วัดเซิงหวายเป็นอย่างดี แม้ว่าท่านจะมรณะภาพไปแล้วแต่ร่างก็หาเสื่อมถอยไปตามธรรมชาติไม่ ด้วยความเป็นพระทบำเพ็ญประโยชน์ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทางพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด มีญาติโยมลูกศิษย์ลูกหาศรัทธากันอย่างมากมาย






อัตโนประวัติ พระราชนันทาจารย์ มีนามเดิมว่า ผล ใกล้ขาว เกิดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2454 ณ บ้านเลขที่ 76 หมู่ 10 แขวงและเขตบางซื่อ กรุงเทพฯ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายคำ และนางเผื่อน ใกล้ขาว

ชีวิตในวัยเด็ก ได้ช่วยงานครอบครัวอย่างขยันขันแข็ง และจบการศึกษาสามัญชั้นม.1 โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม จนเมื่ออายุย่าง 16 ปี จึงได้บรรพชา ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยมีพระพิมลธรรม เป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2474 ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยมีพระพิมลธรรม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระญาณสมโพธิ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระเทพโมลี เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ด้วยความมุ่งมั่นศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมอย่างลึกซึ้ง ณ สำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ได้มุมานะเล่าเรียนอย่างหนัก

พ.ศ.2466 สอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท ตามลำดับ ณ สำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

พ.ศ.2481 สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค ณ สำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

พ.ศ.2502 สำเร็จการศึกษาประโยคครูพิเศษประถม (พ.ป.) จากกระทรวงศึกษาธิการ

ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2481 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเวตวันธรรมาวาส พ.ศ.2509 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2515 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะแขวงบางซ่อน

พ.ศ.2517 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะเขตพญาไท

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2499 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูวิบูลโชติวัฒน์ พ.ศ.2509 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2510 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2514 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระศีลาจารพิพัฒน์

พ.ศ.2514 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชนันทาจารย์

พระราชนันทาจารย์ หรือหลวงปู่ผล อกฺกโชติ เป็นพระผู้โอบอุ้มอุปถัมภ์โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง นับแต่ท่านได้ก่อตั้งโรงเรียนหลายสิบปี ในช่วงนั้น ท่านได้เล็งเห็นถึงความลำบากของเด็กๆ ในย่านซอยวัดเซิงหวาย ซึ่งต้องพากันเดินไปเรียนที่โรงเรียนวัดสร้อยทอง ที่อยู่ไกลออกไปหลายกิโลเมตร ท่านจึงได้เมตตามอบที่ดินของวัด เพื่อก่อตั้งโรงเรียนวัดเวตวันธรรมาวาส ต่อมาได้แยกเป็น 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมอีกแห่งหนึ่ง นับว่าพระเดชพระคุณเป็นผู้มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างพื้นฐานปลูกฝังเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญของชุมชน นักเรียนแต่ละรุ่นที่จบการศึกษาออกไป ต่างประสบความสำเร็จ ประกอบอาชีพเลี้ยงตัวและเป็นประโยชน์ต่อสังคมเป็นอย่างดี

ในช่วงบั้นปลายชีวิต อาพาธบ่อยครั้งด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ สุดท้ายได้มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 ณ โรงพยาบาลบางโพ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ สิริอายุ 93 พรรษา 9 เดือน 9 วัน



ภาพข่าว : ITV วัน อาทิตย์ ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2549 22:00 น
บรรจุศพหลวงพ่อผลวัดเซิงหวายในโลงแก้ว





ประชาชนจำนวนมาก ที่เลื่อมใส พระราชนันทาจารย์ หรือ หลวงพ่อผล อดีตเจ้าอาวาสวัดเชตวันธรรมาวาส หรือ วัดเซิงหวาย ย่านบางซื่อ ทยอยมาสักการะศพหลวงพ่อผล ซึ่งบรรจุอยู่ในโลงแก้ว หลังคณะกรรมการ ที่ประกอบไปด้วย คณะกรรมการวัด ญาติของหลวงพ่อผล พระเถระชั้นผู้ใหญ่ในเขตบางซื่อ ตัวแทนชาวบ้านกลุ่มคัดค้านพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2549 ตำรวจนครบาลเตาปูน และ สื่อมวลชน ร่วมกันเป็นสักขีพยานในการเปิดหีบทองบรรจุศพหลวงพ่อผล เพื่อพิสูจน์ว่าหลวงพ่อละสังขารแต่ร่างกายไม่เน่าเปื่อย ซึ่งผลการพิสูจน์ทำให้ทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่า ให้บรรจุศพในโลงแก้วไว้ให้ประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธา มากราบไหว้บูชา