6. วัดเซิงหวาย

วัดเวตวันธรรมาวาส (วัดเซิงหวาย)



เดิมชื่อ "วัดเซิงหวาย" สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณปี พ.ศ.๒๓๒๖ โดยราษฎรที่อพยพหลบภัยสงครามมาจากกรุงศรีอยุธยา เพราะปรากฏว่า มีพระพุทธรูปศิลาทรายฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาอยู่ที่วัดหลาย องค์ สภาพวัดเดิมเป็นแบบชนบทอยู่กลางสวน ต่อมาเมื่อมีถนนตัดผ่าน จึงมีการ พัฒนาเปลี่ยนแปลงไป และได้เปลี่ยนนามใหม่เป็น "วัดเวตวันธรรมาวาส" ได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๐๘ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

ที่ตั้ง ซอยวัดเวตวันธรรมาวาส ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวง/เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ




สิ่งสำคัญในวัด



หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย สมัยกรุงสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๗ นิ้ว เดิมองค์ท่านถูกฝังอยู่ใต้พื้นดินด้านทิศเหนือของอุโบสถ เมื่อ ประมาณ ๑๐๐ ปี ที่ผ่านมา ท่านได้เข้าฝันชาวบ้านว่า ถ้าอยากให้บ้านเมืองร่มเย็นเป็น สุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ก็ให้นำท่านขึ้นบูชา จึงมีการค้นหา และนำขึ้นมาประดิษ ฐานไว้ที่วัด

พระประธาน ซึ่งประดิษฐานภายในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่แกะสลักมา จากศิลาแลง

หอระฆัง ภายในหอระฆังมีระฆังเก่าแก่สมัยกรุงธนบุรี ทำด้วยเนื้อสัมฤทธิ์ที่สวย งามมาก



ภาพ/เรื่อง - สำนักงานเขตบางซื่อ กทม.



แผนที่การเดินทาง


รถประจำทางสายที่ผ่าน ได้แก่ สาย 50 ทั้งแดง ส้ม ปอ.5 ปอ.6 สาย 16 30 และ 32


งานประเพณีที่สำคัญ

งานประเพณีแห่เรือชักพระและพิธีสมโภชหลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดเซิงหวาย (วัดเวตวันธรรมาวาส)
แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๒



หลวงพ่อสัมฤทธิ์เป็นพระศักดิ์สิทธิ์ หน้าตักกว้าง ๗ นิ้ว สูง ๑๒ นิ้ว ชาวบ้านเคารพนับถือว่าเป็นพระคู่บ้านของชาวบางซื่อ เดิมนั้นท่านถูกฝังอยู่ใต้ดินทางทิศเหนือของอุโบสถวัดเซิงหวายมาช้านาน วันหนึ่งท่านก็มาเข้าฝันพระดี (บ้างว่านายดี บ้างก็ว่าพระอยู่ดี) ว่าถ้าอยากให้บ้านเมืองสงบสุขก็ให้นำท่านขึ้นมาสักการบูชา เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อใดไม่แจ้งชัด รู้กันแต่ว่าวัดนี้มีอายุราวต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และประเพณีชักพระวัดเซิงหวายก็สืบเนื่องมานับร้อยปี

หนังสือย่านเก่าในกรุงเทพฯ [เล่ม ๒] เล่าถึงงานชักพระที่วัดเซิงหวายแต่กาลก่อนว่ามีเส้นทางของขบวนแห่ทางน้ำได้ต่อเนื่องเป็นวงกลม คือ

“เริ่มออกทางคลองกระดาษ คลองส้มป่อย ไปทางวัดสร้อยทอง อ้อมไปเข้าคลองบางซื่อ ผ่านวัดประดู่ธรรมธิปัตย์ วัดสะพานสูง เลี้ยวเข้าคลองเปรมประชากร แวะพักที่วัดแคราย (วัดเสมียนนารี) เพื่อถวายภัตตาหารเพลและถวายผ้าป่า แล้วต่อไปยังวัดสี่แยก (วัดเทวสุนทร) เลี้ยวเข้าคลองบางเขน คลองบางเขนใหม่ ผ่านวัดมัชฌันติการาม ไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณสะพานพระราม ๖ มีการแข่งเรือ แล้ววกกลับสู่วัดเซิงหวาย”

แต่เดี๋ยวนี้ไม่เหมือนก่อน เพราะมาระยะหลังคลองต่างๆ ตื้นเขินบ้าง ติดประตูกั้นน้ำที่ไม่ให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ ด้านในบ้าง ฯลฯ บางช่วงเลยต้องอัญเชิญหลวงพ่อขึ้นรถสลับกับลงเรือ




ภาพ/เรื่อง จาก : วารสารเมืองโบราณ