9. บทความน่าสนใจ

ประวัติพระพิราพโดยย่อ



พระไภราวะหรือไภรพ หรือไภราพ เป็นปางหนึ่งของพระศิวะ ซึ่งนับถือว่าเป็น นาฏราช
คือผู้ให้กำเนิดนาฏศิลป์แก่มนุษย์ แล้วยังถือกันว่าพระไภราพนี้เองเป็นต้นกำเนิดแห่งท่ารำ
“วิจิตรตาณฑวะ” ซึ่งเป็นท่ารำที่วิจิตรพิสดารหนึ่งใน ๑๐๘ ท่า ของพระศิวะ พระไภราวะ
เป็นที่นับถือเคารพบูชาและเกรงกลัวยิ่งในหมู่นาฏศิลปินอินเดีย แถบลุ่มน้ำคงคา โอริสา มหานที
และจันทรภาค โดยเฉพาะที่เมืองพาราณสี เชื่อว่าการบูชาเทวรูปนี้ตามบ้านจะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ
ขจัดเสนียดและประทานพรให้ด้วย

สอดคล้องกับที่ ไมเคิล ไรท์ ระบุว่าชาวเมืองพาราณสีมีรูปเคารพที่ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า
“กาศีลิงคพิราปฺปา” มีลักษณะเป็นเสาหลักมียอดเป็นหัวยักษ์ผู้คนนิยมเซ่นสังเวยด้วยเนื้อดิบและเหล้า
“เป็นตำรวจ แทนองค์พระอิศวรวิศวนารถผู้เป็นประธานในพาราณสี,
คอยฟาดฟันผู้บังอาจกระทำความชั่วในเมืองนั้น” และยังได้ตั้งข้อสังเกตอีกว่าพิราพป่า ในภาษาไทย
คงมาจากคำว่า “พิราปฺปา” ในภาษาพื้นเมืองพาราณสีนั่นเอง
ส่วนในประเทศเนปาล พระไภราพ หรือกาโลไภราพ เป็นเทพเจ้าที่มีผู้นับถือและเกรงกลัวมาก ด้วยว่า
เป็นเพทแห่งสงครามและความตาย ขณะเดียวกันก็เป็นเทพผู้ประทานพรและขจัดโรคภัยไข้เจ็บด้วยเช่นกัน

ความเชื่อด้านนาฏศิลป์และดนตรีไทยส่วนหนึ่งคงได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโดยผ่านมาทางชวาและขอม
แล้วไทยคงจะรับจากขอมอีกทอดหนึ่ง ดังเช่นความเชื่อในการบูชาพระไภราวะหรือพระพิราพนี้ ซึ่งปรับประยุกต์
เข้ากันได้กับความเชื่อเดิมของคนไทยที่นับถือผี และเซ่นสรวงสังเวยด้วยเนื้อดิบ และเหล้าอยู่แล้วได้อย่างแนบสนิท
อ.ประเมษฐ์ บุณยะชัย แห่งสถาบันนาฏ ดุริยางคศิลป์ กรมศิลปากร ได้ตั้งข้อสังเกตว่านาฏศิลป์ชั้นสูงมักเกี่ยวกับชีวิต
และความตาย การสร้างสรรค์และการทำลายซึ่งเป็นสิ่งตรงกันข้ามกัน แต่รักษาดุลยภาพของกันและกันไว้ได้
การร่ายรำของพระศิวะนาฏราชนั้นเป็นการสร้างสรรค์และการทำลายอยู่ในตัว รูปพระศิวะปางนาฏราชในทาง
ปฏิมานวิทยามักจะทำเป็นรูปทรงเหยียบอสูรไว้ด้วยพระบาทขวาหมายถึงการทำลายความชั่ว พระบาทซ้ายยกขึ้น
ทำท่ารำงดงามเป็นการสร้างสรรค์ศิลป์ รอบๆ เป็นวงเปลวเพลิงหมายถึงการหมุนเวียนของจักรวาล การบูชาเทพเจ้า
ฝ่ายนาฏศิลป์ปางดุร้ายก็คงเข้าในคตินี้เช่นกัน

ความชาญฉลาดของโบราณจารย์ไทยประการหนึ่งคือการสามารถประยุกต์และผนวกเอาความเชื่อพระพิราพ
ในรูปแบบเทพเจ้า และตัวโขน เข้าไว้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างแนบเนียน ดังที่กล่าวมาแล้วว่า
หน้าพาทย์หรือท่ารำองค์พระพิราพ เป็นหน้าพาทย์ชั้นสูงสุด เป็นหน้าพาทย์เฉพาะองค์พระพิราพในฐานะเทพเจ้า
ซึ่งไม่มีโอกาสที่จะใช้กับการแสดงอื่นๆ หากไม่มีการแสดงย่อมเกิดการสูญหายได้ด้วยว่าไม่มีผู้สืบทอด
ประการหนึ่ง ด้วยเหตุนี้โบราณจารย์จึงได้นำมาบรรจุไว้ในการแสดงโขนตอนพระรามเข้าสวนพิราพ
ซึ่งมีนามพ้องกับ พระไภราพหรือพิราพ ซึ่งเป็นปางหนึ่งของพระอิศวรนั่นเอง โดยท่ารำและเพลงที่แสดงถึง
ภาวะความเป็นเทพเจ้านั้นจะปรากฏในตอนออกท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ที่ศิลปินผู้รับบทจะต้องถือกำ
ก้านใบมะยมด้วยมือซ้ายและถือหอกด้วยมือขวานั่นเอง เป็นการแสดงเบิกโรงต้นเรื่องที่มีความขลัง ศักดิ์สิทธิ์
เมื่อสิ้นกระบวนรำจึงเป็นการดำเนินเรื่องตามบทบาทของพิราพอสูรในเรื่องรามเกียรติ์ต่อไป

ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าพระพิราพนั้นแท้จริงแล้วคือปางดุร้ายปางหนึ่งของพระอิศวรเป็นเจ้า ทำนองเดียวกับ
เจ้าแม่กาลี หรือ ทุรคา ซึ่งเป็นปางดุร้ายของพระอุมา นั่นเอง


เครดิต: ขอขอบคุณ คุณเมื่อไรจะหายเหงา จากเวปพันทิพครับ




ประวัติพระพิราพ(เพิ่มเติม)คาถาและการบูชา

ตำนานพระพิราพ
พระอิศวรอวตารภาคดุ ( หรือพระพิราพ )
-เทพอสูรผู้เป็นบรมครูสูงสุดแห่งนาฏศิลป์
บรมครูผู้ประทานโชคลาภความสุข ความเจริญ ความร่มเย็นเป็นสุข และอำนาจ แห่งมหาเสน่ห์เมตตาชั้นสูงสุด
-เทพเจ้าผู้ประทานชีวิตและความตาย
-เทพเจ้าแห่งพลังอำนาจการลบล้างคุณไสยมนต์ดำ ป้องกันกันและปราบปรามภูตผีปีศาจ และอาถรรพณ์ร้ายทุกชนิด

พระพิราพนับเป็นบรมครูองค์สำคัญพระองค์หนึ่งที่หมู่นาฏศิลป์ทั้งหลายให้ความเคารพในฐานะบรมครูผู้ศักดิ์สิทธิ์
ทรงฤทธิ์แรงครูชั้นสูง ทั้งนี้คติในการนับถือพระพิราพว่าเป็นบรมครูนั้นสืบเนื่องประเพณีการนับถือพระไภราวะของ
ชาวอินเดียและเนปาล โดยพระไภราวะนั้นคือภาคหนึ่งของพระอิศวรที่แสดงรูปกายออกมาเป็นยักษ์ที่ทรงอิทธิฤทธิ์
ตามคติตำนานแต่โบราณกล่าวว่า พระไภราวะนี้มีฤทธิ์ในการปราบภูตผีปีศาจ ในสมัยก่อนเมื่อเกิดโรคระบาด
คร่าชีวิตผู้คนทั้งหลาย ขาดที่พึ่งจึงได้ระลึกถึงพระไภราวะผู้ประทานชีวิตและความตายอันเป็นภาคมหาปราบภาคหนึ่ง
ของพระศิวะเจ้า เมื่อคนทั้งหลายต่างพากันบูชาพระไภราวะแล้ว โรคร้ายทั้งหลายทั้งปวงก็หายไป บังเกิดความร่มเย็น
เป็นสุขขึ้นมาอีกครั้ง ดังนั้นการนับถือพระไภราวะนี้จึงมีคติที่นับถือกันว่าผู้ใดก็ตามที่นับถือบูชาแล้ว ผู้นั้นจะปราศจาก
ภยันอันตราย อาถรรพณ์ร้ายทั้งปวง ทั้งยังช่วยให้เกิดสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย

คติการนับถือพระไภราวะนี้เข้ามาในไทยพร้อมกับวิชานาฏศิลป์ คำว่าพระพิราพนั้นก็มาจากคำว่า “ไภราวะหรือไภรวะ”
แล้วภายหลังเพี้ยนมาเป็น “พระไภราพ” จนที่สุดก็กลายมาเป็นคำว่า “พระพิราพ” ในคติของชาวนาฏศิลป์ที่นับถือ
พระพิราพนั้นก็เนื่องจากเชื่อถือกันว่า พระพิราพนี้เป็นบรมครูทางฝ่ายยักษ์ผู้สูงสุดและยังถือว่าพระพิราพนี้เป็น
ผู้ประทานโชคลาภ เสน่ห์เมตตามหานิยม อุดมด้วยทรัพย์สมบัติ ผู้ที่เคารพบูชาพระองค์จะเป็นเมตตามหานิยมแก่
คนทั้งหลาย บังเกิดความเจริญสูงสุดในชีวิตทุก ๆ ด้าน ทั้งเรื่องการงาน การเงิน และจะมีความร่มเย็นเป็นสุข
ห่างไกลจากโชคร้ายภยันอันตรายทั้งหลายอย่างน่าอัศจรรย์ แม้ว่าจะต้องประสบเคราะห์หามยามร้ายอย่างหนึ่ง
อย่างใดก็ดี หากมีพระพิราพบูชามีบารมีแห่งพระองค์คุ้มหัวคุ้มเกล้าแล้วไซร์ ย่อมปลอดภัย ผ่อนหนักเป็นเบา
แคล้วคลาดไปได้อย่างน่าอัศจรรย์ แม้นว่าบ้านใดมีผู้ป่วยเรื้อรังมานานหรือญาติมิตรทั้งหลายเจ็บป่วยขาดที่พึ่ง
เกรงว่าจะรักษามิได้ ก็ให้ระลึกถึงคุณบรมครูพระพิราพ จุดธูปเทียนสักการะ ตั้งจิตอธิฐานถึง คุณพระพุทธเจ้า
คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า และคุณบรมครูอสูรเทพพระพิราพเอาเถิดจะเกิดผลดีเป็นแน่แท้ อำนาจแรงครู
จะช่วยปัดเป่าโรคร้ายเสนียดจัญไร เคราะห์ร้าย ทั้งหลายให้พินาศไปเอง แม้ว่าจะประสงคืได้เลื่อนยศเลื่อน
ตำแหน่งอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือประสงค์เงินทองมิให้ขาดมือ ปรารถนาอยากมีโชคมีลาภ ก็ให้จุดธูปเทียนบูชา
พระองค์แล้วตั้งจิตอธิฐานขอให้พระองค์โปรดประทานพรอันสิ่งเป็นมงคล ก็จะสมหวังในกาลทุกเมื่อแลฯ

อนึ่งเรื่องเกี่ยวกับพระพิราพนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างศีรษะโขนก็ดี การสร้างพระพิราพเต็มองค์ในรูปแบบ
วัตถุมงคลก็ดี หรือแม้กระทั่งการร่ายรำท่ารำพระพิราพหรือการบรรเลงเพลงหน้าพาทย์พิราพก็ดี ล้วนแล้วแต่
เป็นความศักดิ์สิทธิ์ด้วยกันทั้งสิ้นสำหรับการรำท่ารำพิราพเต็มองค์นั้น ครั้งหนึ่งเกือบสูญหายไปจากวงการนาฏศิลป์
ในราวปี พ.ศ.๒๕๐๔ นั้นได้ จัดให้มีการถ่ายทอดท่ารำขึ้นที่หน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทด้วยเหตุนี้จึงได้มี
การสืบสานตำนานท่ารำพระพิราพเต็มองค์และคติความเชื่อความนับถือพระพิราพมิให้สูญหายไปจากวงการ
นาฏศิลป์ของไทยเราสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้>>

วาทะสิทธิ์ วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๑
คัดข้อมูลจากใบบูชาพ่อพิราพ หลวงพ่อกาหลง เขี้ยวแก้ว

เครดิต:ชมรมคนรักพ่อแก่



คาถาอัญเชิญพระพิราพ
กฎข้อสำคัญของพระพิราพ
จึงจะเป็นสิริมงคลแก่ตัวท่านเอง เครื่องสังเวย ได้แก่ ( ไข่ดิบ ๕ฟอง ) ( ข้าวตอก ๑ ถ้วย ) ( น้ำผึ้ง ๑ ถ้วยชาเล็ก )
ดอกไม้หรือพวงมาลัย ( รวมกันให้ได้ ๓ สี ขึ้นไป ) วางตั้งลงพานบูชา เป็นการรับครูจุดธูป ๕ ดอก เทียน ๒ เล่ม
ตั้งนะโม ๓ จบ สวดบูชาพระรัตนตรัย เสร็จแล้ว ( สวด อิติปิโส ถึง โลกัสสาติ ) จากนั้นจึงสวดพระคาถาอัญเชิญ
พระพิราพรับเครื่องสังเวย ดังนี้
อิมัง สัจจะวานัง อะธิษฐามิ ทุติยัมปิ อิมัง สัจจะวานัง อะธิษฐามิ ตะติยัมปิ อิมัง สัจจะวานัง อะธิษฐามิ พุทธัง
องค์พิราธัง ขอเอหิจงมา ธัมมัง องค์พิราธัง ขอเอหิจงมา สังฆัง องค์พิราธัง ขอเอหิจงมา

พุทโธ สิทธิฤทธิ์ ธัมโม สิทธิ์ฤทธิ์ สังโฆ สิทธิฤทธิ์ สุขะ สุขะ ชัยยะ ชัยยะ ลาภะ ลาภะ สัพพะธัมมานัง
ประสิทธิเม ประสิทธิเต พุทโธสวัสดีมีชัย ธัมโมสวัสดีมีชัย สังโฆสวัสดีมีชัย ปะติตัง สุรังคันธัง อะธิษฐามิ
พุทธัง องค์พิราธัง ขอเอหิจงมา ธัมมัง องค์พิราธัง ขอเอหิจงมา สังฆัง องค์พิราธัง ขอเอหิจงมา
พุทโธสิทธิ์ฤทธิ์.......................อะธิษฐามิ ตะติยัมปิ พุทธัง องค์พิราธัง ขอเอหิจงมา ตะติยัมปิ ธัมมัง
องค์พิราธัง ขอเอหิจงมา ตะติยัมปิ สังฆัง องค์พิราธัง ขอเอหิจงมา

พุทโธสิทธิ์ฤทธิ์.......................อะธิษฐามิ
อิมัสสะมิง วันทามิ อาจาริยัง สัพพะไสยยัง วินาสสันติ สิทธิการะ อัปปะระปะชา อิมัสสะมิง สิทธิ ภะวันตุ สัพพะทา
นะมัสสิตะวา อาจาริยัง อิสิโลกะนาถัง พุทธะสะรามิ นะมัสสิตะวา อาจาริยัง อิสิโลกะนาถัง ปะติปะติบูชา วันทิตะวา
อสูรเทพานัง มะหันตะพะลัง อันตะรายัง วินาสสันติ สิทธิการิยะ พิราธาสูรยัง วิชชาจาระณาสัมปันนัง นะมามิหัง
อัคคีพาหูบุปผัง อะหังวันทา อาจาริยัง สัพพะไสยยัง วินาสสันติ
สิทธิปะระปะชา อิมัสสมิง ภะวันตุเม ทุติยัมปิ อัคคีพะหูบุปผัง..................ภะวันตุเม เม ตะติยัมปิ อัคคีพะหูบุปผัง.
.................ภะวันตุเม ( จากนั้นให้กล่าวต่อว่า )
“ข้าพเจ้า...........................ขอฝากเนื้อฝากตัวเป็นลูกหลานเป็นลูกศิษย์แห่งพระองค์ท่านพระพิราพผู้เป็นบรมครู
และขอไดโปรดให้ท่านมีเมตตาประทานพรประทานโชคลาภตามสมควรแก่ลูกด้วย “
และหากต้องการอธิษฐานขอพรใดๆ ก็กล่าวคำอธิษฐานตามแต่ปรารถนาเถิดพระคาถาข้างต้นนี้ใช้กล่าวสวดบูชา
เฉพาะตอนที่ถวายเครื่องสังเวยเท่านั้นส่วนคาถาที่ใช้สวดบูชา ติดตัวทุกวันให้ใช้บทสวดที่จะกล่าวถึงต่อไปสำหรับ
การบูชานี้จำเป็นอย่างยิ่งในครั้งแรกที่ได้รับพระพิราพไปสักการบูชาจะเป็นผลที่ดีอย่างยิ่ง เพราะเป็นที่รู้ๆกันอยู่ว่า
“พระพิราพ” ท่านมีฤทธิ์ดชแรงมาก ส่วนการบูชาในวันอื่นๆ ที่นอกจากนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความศรัทธาโดยไม่จำเป็นว่า
จะต้องทำเป็นประจำ

วาทะสิทธิ์ ๑ มกราคม ๒๕๕๑
คัดข้อมูลจากใบบูชาพ่อพิราพ หลวงพ่อกาหลง เขี้ยวแก้ว

เครดิต:ชมรมคนรักพ่อแก่

ผู้ที่รับบูชาพระพิราพไปคราวแรกจะต้องตั้งเครื่องสังเวยบูชาครูในวันพฤหัสแรก

คาถาบูชาพระพิราพ
นะโม ๓ จบ
อิมัง สัจจะวานัง อะธิษฐามิ ทุติยัมปิ อิมัง สัจจะวานัง อะธิษฐามิ ตะติยัมปิ อิมัง สัจจะวานัง อะธิษฐามิ พุทธัง
องค์พิราธัง ขอเอหิจงมา ธัมมัง องค์พิราธัง ขอเอหิจงมา สังฆัง องค์พิราธัง ขอเอหิจงมา พุทโธ สิทธิฤทธิ์ ธัมโม
สิทธิ์ฤทธิ์ สังโฆ สิทธิฤทธิ์ สุขะ สุขะ ชัยยะ ชัยยะ ลาภะ ลาภะ สัพพะธัมมานัง ประสิทธิเมประสิทธิเต พุทโธ
สวัสดีมีชัย ธัมโมสวัสดีมีชัย สังโฆสวัสดีมีชัย ( ท่อง ๓ จบ )
ยักษะ สะวะรูปะ ชฎา ธะรายะ ปินากะ หัสสะตายะ สะนาตะนายะทิวะยายะ เทวายะ ทิคัมพรายะ ตัสสะไม
ยะการายะ นะมะศิวายะ
เมื่อท่องคาถาเสร็จตามนี้แล้ว ให้ระลึกถึง คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า คุณบิดามารดา
พระอิศวร พระพรหม พระนารายณ์ มีพระพิราพเจ้าเป็นบรมครูอสูรเทพเป็นที่สุด พร้อมทั้งเหล่าบริวารทั้งหลาย
คุณครูบาอาจารย์ทั้งหลายเป็นที่สุด แล้วอาราธนาตั้งอธิษฐานให้คุณครูติดตามปกปักรักษาข้าพเจ้า
แม้นว่ามีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจอันใดพึงอธิษฐานให้แรงครูช่วยดูแลปกป้องคุ้มครอง หากปรารถนาโชคลาภก็เช่นกัน
หรือเรื่องใดๆก็ตาม และหากสมปรารถนาแล้วไซร์ให้ทุกบุญอุทิศให้ครูบาอาจารย์ มีพระพิราพเจ้าเป็นต้น
จะบังเกิดความสุข ความร่มเย็น โชคลาภก็จะมามิขาดสาย บังเกิดความเจริญรุ่งเรืองสืบไปเป็นนิตย์
และหากมีคนเจ็บไข้ได้ป่วยให้อาราธนาองค์ “พระพิราพ” ลงทำน้ำทิพย์มนต์ท่องคาถาทั้งสองบท
จุดธูป ๕ ดอก เทียน ๒ เล่ม บูชาคุณครูตั้งจิตระลึกคุณครูถึงให้มั่น ทำใจให้สงบ วางจิตให้เป็นกลาง
ปล่อยวางความกังวลทั้งปวง ท่องคาถาบทแรก ๓ จบ บทที่สอง ๓ จบ แล้วขอพรคุณพระศรีรัตนตรัย
คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ มีพระพิราพเป็นที่สุด อธิษฐานระลึกถึงบุญกุศลที่ตนเคยทำมาตั้งแต่อดีต มีอาทิ
การให้ทาน การถือศีล และสวดมนต์เจริญจิตภาวนา เป็นต้น ตั้งสัจจะอธิษฐาน ลงไปให้แน่วแน่ ขอให้น้ำนี้เป็นน้ำทิพย์
ด้วยเดชแห่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของครูบาอาจารย์และบุญกุศลที่ข้าพเจ้าทำมา อธิษฐานน้ำให้เป็นยาวิเศษแก่ผู้ที่เจ็บป่วย
โดยบอกกล่าวแก่ครูบาอาจารย์ไปว่า ผู้ที่เจ็บป่วยนั้นชื่อว่าอะไร ป่วยเป็นอะไร ขอให้เขาหายจากอาการนั้นๆ
โดยพลัน หายจากความเจ็บปวดทุรนทุราย ตั้งจิตเชื่อมั่นในครูบาอาจารย์ให้แน่วแน่เถิดสำเร็จทุกประการ
เมื่ออธิษฐานทำน้ำทิพย์มนต์เรียบร้อยแล้วนำไปให้ผู้ป่วยผู้นั้นดื่มบ้าง ลูบหน้าลูบตาบ้าง แบ่งไปอาบน้ำบ้าง
อาการจะดีขึ้นโดยพลัน
แม้นจะประสงค์เสกน้ำล้างหน้าเป็นเมตตามหานิยมก็ได้เช่นกัน อาราธนาองค์พ่อพิราพขอให้พระองค์ประทาน
เสน่ห์เมตตามหานิยมชั้นสูงแก่ข้าพเจ้า กล่าวอาราธนาคุณพระพิราพโดยท่องบทแรกเพียงบทเดียวก็ได้ ท่อง ๓ จบ
เสกลงไปในน้ำที่เราจะล้างหน้านั้น ตั้งจิตใจให้ดีแล้วเอาน้ำนั้นลูบหน้าโดยลูบจากปลายคางขึ้นไปบนหน้าผาก
ทำอย่างน้องสามครั้ง น้ำที่เหลือล้างหน้ารดหัวตามปกติ เป็นเสน่ห์เมตตามหานิยมอย่างยิ่งแลฯ หากทำให้รัก
ก็จะรักจนลุ่มหลงด้วยฤทธิ์แรงครู แต่ห้ามผิดครูผิดศีล คือหารักใครชอบใครแล้วสำเร็จด้วยแรงครูดังนี้ห้ามทิ้งขว้าง
ห้ามปอกลอก จะมีภัยพิบัติแก่ตัวเอง ต้องนำผู้นั้นออกงานเชิดหน้าชูตา เลี้ยงอุปถัมภ์ด้วยความจริงใจ
หากประสงค์ให้เกิดลาภยศสรรเสริญ โชคลาภสิ่งหนึ่งสิ่งใด พึงทำบุญอุทิศให้คุณครูบาอาจารย์มีพระพิราพ
พร้อมทั้งเหล่าบริวารเป็นที่สุด แล้วหมั่นท่องคาถา บูชาพระองค์ด้วยดอกมะลิ ดาวเรือง กุหลาบบานไม่รู้โรย
ดอกรัก ทุกวันพฤหัสได้ยิ่งดี จะบังเกิดสิริมงคล ลาภยศชื่อเสียงเงินทองโชคลาภจะหลั่งไหลมาไม่ขาดเลยแลฯ

เครดิต:ชมรมคนรักพ่อแก่



ประวิติพระฤาษี



เรื่องราวของพระฤาษี ในตำนานนั้นมีมากมายโดยเฉพาะในแถบสุวรรณภูมิเราที่ดู ออกจะมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับ
พระฤาษีต่างๆไม่น้อย ทั้งที่เกี่ยวพันกับปรำปราพื้นบ้านที่เป็นผู้ประสิทธ ิประสาทความรู้ต่าง ๆ และบางครั้งยังนำมา
เกี่ยวพันกับการสร้างเมืองหรืออาณ าจักรสำคัญๆ อยู่หลายอาณาจักร ลักษณะฤาษีแบบไทยๆนั้นดูจะแตกต่าง
ออกไปจากฤาษีอินเดี ย ตั้งแต่การแต่งกาย ที่อินเดียนิยมนุ่งห่มผ้าย้อมสีแบบจีวรพระที่ถือเป็น สีนักบวชและ
ไม่นิยมหนังสัตว์ที่ถือว่าเป็นการฆ่าสัตว ์ตัดชีวิต จะมีฤาษีอินเดียในสายนับถือพระศิวะที่มีการนุ่งห่มหน ังสัตว์
ซึ่งปัจจุบันไม่พบมากนัก ส่วนไทยเรานั้นกลับนุ่งห่มหนังเสือ ที่คล้ายกับได้รับวัฒนะธรรมมาจากนักบวชแถบเปอร์เชีย
ตามภาพเขียนไทยสมัยโบราณ ถ้ามีภาพป่าหิมพานต์ ก็จะมีรูปวิทยาธรที่เป็นพวกแต่งกายคล้ายๆฤาษี เข้าคลอเคลีย
ผลไม้ประหลาดที่ชื่อนารีผลซึ่งพวกนี้ไม่จัดเป็นฤาษีแ ท้ อินเดียจะเรียกนักสิทธิ เราก็เรียกว่า เป็นนักสิทธิวิทยาธร
หรือฤาสิทธิวิทยาธรไปอันนี้เป็นความแตกต่างที่อาจสับ สนได้

นักบวชที่เรียกว่า “ฤาษี” จะเป็นพวกบำเพ็ญพรต ตบะอย่างยิ่งยวด ซึ่งผลที่ได้ตอบแทนประการหนึ่งคือการมีอิทธิฤทธิ์ที่
นอกเหนือชนสามัญ ฤาษีจึงเป็นสัญลักษณ์ของความศักดิ์สิทธิ์ โดยจัดแบ่งฤาษีตามตบะออกเป็น ๓ ชั้นคือ
พรหมฤาษี - ผู้ทีตบะเลิศ ข่มจิตนิวรณ์ได้บรรลุญาณชั้นสูง
มหาฤาษี - ผู้มีตบะข่มกามคุณ
ราชฤาษี - สำเร็จญาณสมาบัติชั้นต้น

ซึ่งบรรดาฤาษีผู้สำเร็จที่ปรากฏในคำไหว้ครู ไทยนั้นมีหลายท่านแต่ที่ปรากฏเสมอๆมีอยู่สามตนคือ พระฤาษีนารอด
พระฤาษีตาวัวและพระฤาษีตาไฟ ซึ่งทั้งสามท่านนี้จะเป็นที่รู้จักกันทั่วไปมาแต่โบร าณ มีหลักฐานปรากฏในลานเงิน
ลานทองที่ประจุไว้พร้อมพระพิ มพ์โบราณที่กล่าวว่า “ตำบลเมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิไชยสงคราม
เมืองพิจิตร เมืองสุพรรณ ว่ายังมีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนๆ หนึ่งฤาษี พิลาไลย ตนหนึ่งฤาษีตาไฟ
ตนหนึ่งฤาษีตาวัว เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่า เราท่านทั้งหลายนี้จะเอาอันใดให้แก่
พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้งสามจึงว่า เราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำด้วยเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ ฉลองพระองค์
จึงทำเมฆพัตร อุทุมพร เป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ พระฤาษีประดิษฐานไว้ในถ้ำเหวใหญ่น้อยเป็นอานุภาพแก่
มนุษย์ทั้งหลายสมณชีพราหมณ์เจ้าไปถ้วน ๕๐๐๐ พรรษา ฤาษีองค์หนึ่งจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงท่านจงไปเอาว่านอันมีฤทธิ์
เอามาสัก ๑๐๐๐ เก็บเอาเกษรไม้อันวิเศษ ที่มีกฤษณาเป็นอาทิ ให้ได้พัน ครั้นเสร็จแล้ว ฤาษีจึงป่าวร้องเทวดา
ทั้งปวงให้ช่วยกันบดยา ทำเป็นพระพิมพ์ ไว้สถานหนึ่ง เมฆพัทรสถานหนึ่ง ฤาษีทั้งสามองค์ นั้นจึงบังคับฤาษีทั้งปวง
ให้เอาว่านทำเป็นผง เป็นก้อน ประดิษฐานด้วยมนต์คาถาทั้งปวง ให้ประสิทธิคุณทุกอัน จึงให้ฤาษีทั้งนั้นเอาเกสร
และว่าน มาประสมกันดีเป็นพระให้ประสิทธิแล้ว ด้วยเนาวหรคุณ ประดิษฐานไว้บนเจดีย์อันหนึ่งถ้าผู้ใดให้ถวายพระพร
แล ้วจึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด ให้ระลึกคุณฤาษีที่ทำไว้นั้นเถิด” ซึ่งข้อความตามลานทองจารึกการสร้างพระพิมพ์
อย่างเมืองกำแพงเพชร เมืองสุพรรณบุรีที่มีนัยทำนองนี้เป็นการแสดงความเชื่ อถือคุณพระฤาษีโดยเฉพาะ
ประธานฤาษีทั้งสามองค์นั้นอย่างได้อย่างดี


สำหรับประวัติพระฤาษีตาไฟนั้นพอจะรวบรวมได้ว่าท่านมี ความสัมพันธ์กับพระฤาษีตาวัวมีเรื่องเล่าดังนี้ว่า
ฤาษีตาวัวเดิมท่านเป็นสงฆ์ ตาบอดทั้งสองข้างแต่ชอบเล่นแร่แปรธาตุ จนสามารถทำปรอทแข็งได้
แต่ยังไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์อันใดคราวหนึ่งท่านไปถ าน(ส้วม)แล้วเผอิญทำปรอทสำเร็จตกที่จะหยิบเอาก็มิได้
ด้วยตามองไม่เห็น จึงเงียบไม่บอกใคร เลยแกล้งบอกให้ศิษย์ไปหาที่ถานว่าหากเห็นเรืองแสงเป็ นสิ่งใดให้เก็บมาให้
ครั้นศิษย์กลั้นใจทำตามท่านดีใจนัก ได้ปรอทมา ก็ล้างให้สะอาดแล้วใส่โถน้ำผึ้ง เอาไว้ฉันเป็นยาไม่เอาติดตัว
อีกเพราะเกรงหาย ต่อมาท่านรำพึงว่า เราจะมัวมานั่งตาบอดไปใย มีของดีวิเศษอยู่(ปรอทสำเร็จ)
จึงให้ศิษย์ไปหาคนตายใหม่ๆ เพื่อควักลูกตาแต่ศิษย์หาศพคนตายไม่ได้ได้แต่พบวัวนอ นตายอยู่เห็นเข้าทีดี
จึงควักลูกตาวัวมาแทนท่านจึงเอา ปรอทแช่น้ำผึ้งมาคลึงที่ตา แล้วควักตาบอดออกเสีย เอาตาวัวใส่แทน
แล้วเอาปรอทคลึงที่หนังตาด้วยฤทธิ์ปรอทสำเร็จไม่ช้าต าท่านที่บอดก็เห็นดีดังธรรมดา หลวงตาท่านนั้น
จึงสึกจากพระมาถือบวชเป็นฤาษี และเรียกฤาษีตาวัวมาแต่บัดนั้นส่วนพระฤาษีตาไฟนั้นพย ายามค้นเรื่องราว
ก็ไม่พบว่าท่านเป็นใครและทำไมถึงเรี ยกว่า “ตาไฟ” ซึ่งบางท่านให้คติว่า ท่านคงบำเพ็ญจนสำเร็จกสิณไฟ
และบางคนเลย ไปถึงว่าท่านเป็นภาคหนึ่งของพระศิวะเทพเจ้าสามตาของอ ินเดียที่พอลืมตาที่สามก็เกิด
ไฟประลัยกัปล์ การสร้างรูปท่านฤาษีตาไฟก็เลยทำเป็นสามตา โดยตาที่สามนั้นมีเคล็ดว่า ต้องทำตาหลับ
ห้ามเปิดตาที่สาม มิฉะนั้นผู้ใดมีไว้บ้านเรือนจะไม่เป็นสุขด้วยอานุภาพ ตาไฟที่ลืมแล้วนั่นเอง

เรื่องเล่าท่านฤาษีตาไฟ ก็มีอยู่บ้างในตำนานเมืองศรีเทพที่ท่านโดนลูกศิษย์หั กหลัง กล่าวคือ ท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง
ถึงบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่บ่อห นึ่งใครอาบก็ตาย บ่อหนึ่งคนตายอาบก็กลับเป็น ศิษย์นั้นไม่เชื่อ แล้วขอให้ท่านอาบให้ดู
โดยสัญญาว่า เมื่อท่านอาบน้ำบ่อตายแล้วศิษย์จะจะนำน้ำบ่อเป็นมารด ท่านให้กลับฟื้นแต่พอเอาเข้าจริงท่านตาย
ไปเพราะอาบน้ ำบ่อตายศิษย์เนรคุณก็หนีไป ต่อมาท่านฤาษีตาวัวที่เป็นเพื่อนกันมาเยี่ยมเพราะไปม าหาสู่กันเสมอ
เห็นท่านตาไฟหายไปก็ผิดสังเกตุ จึงออกตามหา พบบ่อน้ำตายนั้นเดือดก็รู้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้น เมื่อพบร่าง
ท่านฤาษีตาไฟ จึงนำน้ำบ่อเป็นมารด ท่านตาไฟจึงฟื้นขึ้นมาเล่าเรื่องศิษย์เนรคุณให้ฟังแล ะท่านตั้งใจจะแก้แค้น
ศิษย์ลูกเจ้าเมืองที่ทรยศนั้น โดยท่านเนรมิตรวัวพยนต์ เอาพิษร้ายประจุไว้ แล้วปล่อยวัวพยนต์นั้นไป วิ่งรอบเมือง
ทั้งกลางวัวกลางคืน แต่เข้าเมืองไม่ได้เพราะศิษย์เจ้ากรรมนั้นปิดประตูเม ืองไว้ พอวันที่เจ็ดวัวพยนต์ได้หายไป
ชาวเมืองคิดว่าปลอดภัยจึงเปิดประตูเมืองวัวพยนต์คอยท ีอยู่ปรากฏตัวขึ้นแล้ววิ่งเข้าในเมือง ระเบิดท้องตัวเอง
ปล่อยพิษร้ายทำลายเมืองและผู้คนวอดว ายไปสิ้น นับแต่นั้นมาเมืองนั้นที่ชื่อ“ศรีเทพ” ก็ร้างมาจนบัดนี้
อันนี้เป็นเรื่องเล่าที่ดูว่าท่านฤาษีตาไฟนี่คงดุไม่ เบาเหมือนกัน ในทางการศึกษาเรื่องเวทมนต์อิทธิฤทธิ์นั้น
ต้องนับถือ ฤาษีตาไฟเป็นสำคัญ

สำหรับพวกรักแนวออกอิทธิฤทธิ์ ดังปรากฏในพิไชยสงครามที่ว่า “ขอพระศรีสุทัศน์เข้ามาเป็นดวงใจ
พระฤาษีตาไฟเข้ามาเป็นดวงตา” ที่นิยามความหมายชัดเจนถึงตบะอำนาจ ในทางลัทธิไสยศาสตร์ พระฤาษีตาไฟ
เป็นครูใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับฤทธิ์อำนาจโด ยตรง มีการกำหนดพิธีกรรมสำคัญ มากมายอย่างยันต์ฤาษีตาไฟ พระคาถา
และเชื่อว่าท่านมีอิทธิฤทธิ์สูงมาก ขนาดดลบันดาลเรื่องเหลือวิสัยปกติให้เป็นไปได้เสมอๆ การบูชาพระฤาษีตาไฟ
นิยมนำน้ำสะอาดตั้งบูชาไว้ด้านหน้าเสมอแบบมีเคล็ดว่า ให้เกิดความร่มเย็นโดยถือว่ารูปท่านเป็นแก้วสารพัดนึก
อำนวยอิทธิคุณให้สำเร็จดังมโนปรารถนาดังตำรายันต์พร ะฤาษีตาไฟที่บอกอุปเท่ห์ว่า “ใครมีไว้ไม่อับจนเลย”
……..สวัสดี

เครดิต: จันทร์เจ้าขาดอดคอมครับ



พ่อแก่
พระฤาษีครูและเครื่องหมายแห่งความกตัญญูรู้คุณอาจารย์ พ่อแก่เป็นคำสามัญใช้ในวงการโขนละคร
ความจริงคือพระฤาษีครูและหมายรวมถึงครูอาจารย์ทุกท่านในอดีตจนถึงปัจจุบันทักรู้จักและไม่รู้จักชื่อ
ของท่านและเป็นเครื่องหมายแห่งความกตัญญูรู้คุณอาจารย์นาฏศิลปะในพิธีไหว้โขนละครจึงนิยม
ปั้นหุ่นรูปพระฤาษีครูเป็นประธานในพิธี

พระฤาษีเป็นนักบวชประเภทหนึ่งในศาสนาฮินดู อาศัยอยู่ในป่ามีชีวิตเรียบง่ายมุ่งทำจิตรภาวนาและสมาธิ
ให้ใจสงบและเกิดประโยชน์ แต่มีภรรยาได้ในศาสนาฮินดูถือว่าพระศิวะมีรูปร่างหนึ่งเป็นพระฤาษีและครู
ที่ประสิทธิ์ประสาทนาฏศิลป มีร่างหนึ่งเป็นพระฤาษีมูลเหตุแห่งความเขื่อว่าพระศิวะเป็นครูนาฏศิลปะ
เพราะพระศิวะเป็นสูงสุดมีหน้าที่สร้างความสมดุลในธรรมชาติ บันดาลให้เกิดหรืดไม่เกิดความอุดมสมบูรณ์
ลมหายใจและการเคลื่อนไหวของพระศิวะเป็นลมหายใจแห่งธรรมชาติด้วยชาวฮินดูจึงให้ความเคารพนับถือ
รูปพระศิวะนาฏราช(พระศิวะ ราชาแห่งนาฏศิลป)ในวงการโขนละครยังนับถือพระพิราบยักษ์เป็นครูนาฏศิลป
ด้วยโดยมีตำนานเล่าว่าพระพิราพ เป็นคนที่ท่าร่ายรำนาฏศิลปะขึ้น แล้วสอนมนุษย์ให้เรียนรู้

การใหว้ครูและครอบครู
การใหว้ครู และครอบครู เป็นการแสดงกตเวทีต่อบุพการี ครูบาอาจารย์
ในพิธีการนั้น จะต้องจัดให้มีเครื่องสังเวย และครูผู้อ่านโองการตามแบบแผน ส่วนใหญ่จะเลือกกระทำพิธี
ในวันพฤหัสบดี "ประเพณีการไหว้ครูมีมาแต่โบราณ คนไทยเป็นคนที่มีกตัญญูอย่างแรงกล้า และได้รับการอบรม
ต่อๆกันมาให้เป็นผู้มีกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ การที่จะกระทำ กิจการใดๆ ก็ต้องได้รับคำแนะนำจากครู
แม้แต่การเลียนแบบหรือลักจำเขามาก็ ต้องเคารพผู้ให้กำเนิด หรือประดิษฐ์สิ่งนั้น ในการศึกษาศิลปวิทยาการต่างๆ
ต้องมีการไหว้ครูก่อนทั้งนั้น การไหว้ครูถือว่ามีความสำคัญมาก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในการเรียนศิลปการดนตรี
และนาฏศิลป์ เป็นพิธีการที่ค่อนข้างยิ่งใหญ่ และมีพิธีรีตองมากกว่าการไหว้ครูทางหนังสือ
"พิธีไหว้ครูที่ปฏิบัติกันเคร่งครัด ได้แก่ พิธีไหว้ครูอาจารย์ทางดุริยางคศิลป์ และ นาฏศิลป์ ถือกันว่าเพลงหน้าพาทย์
ดนตรีบางเพลง และท่ารำบางท่า เป็นเพลง และท่ารำที่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้ายังไม่ได้ทำพิธีไหว้ครู และพิธีครอบเสียก่อนแล้ว
บรรดาครูอาจารย์ทั้งหลายก็ไม่กล้าสอนกล้าหัดให้ศิษย์ ด้วยเชื่อกันว่าจะเกิดผลร้ายแก่ครูผู้สอน และแก่ศิษย์เองด้วย
ถ้าเกิดอุบัติเหตุใดๆขึ้นก็จะกล่าวกันว่า "ครูแรง" เหตุนี้โรงเรียนนาฏศิลปของกรมศิลปากรจึงได้กำหนดงานพิธีไหว้ครู
และพิธีครอบขึ้นเป็นประจำปีละครั้งในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นวันครูในตอนต้นภาคเรียนแรกแต่ละปีการศึกษา
ทำนองเดียวกับโรงเรียนต่างๆ เพียงแต่มีพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ และดุริยางคศิลป์เพิ่มจากไหว้ครูธรรมดา
และมีพิธีครอบประกอบด้วย เพื่อครู ศิษย์ และนักเรียนจะได้เริ่มสอนเริ่มเรียนกันไปอย่างเรียบร้อย และสบายใจ"
ความเชื่อ

การจัดพิธีไหว้ครูนั้น มักนิยมจัดกันในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือว่าเป็นวันครูอันเกี่ยวข้องกับตำนานเทพเจ้าพระพฤหัสบดี
ในปัจจุบันบางครั้งก็นิยมจัดกันในวันอาทิตย์ได้อีก ๑ วัน แต่ไม่ว่าจะจัดวันพฤหัสบดีหรือวันอาทิตย์
จะต้องไม่ตรงกับวันพระเพราะถือว่าครูจะไม่ลงมา และหาซื้อเครื่องสังเวยลำบาก เดือนที่นิยมกระทำพิธีไหว้ครู
ตามแบบโบราณนั้น นิยมประกอบพิธีในเดือนที่เป็นเลขคู่ ยกเว้นเดือน ๙ เดือนเดียวที่อนุโลม เพราะถือเป็นเคล็ดว่า
เป็นเลขที่ดีก้าวหน้า และมักทำกันในวันข้างขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นวันฟู ข้างแรมอันถือว่าเป็นวันจมไม่นิยมประกอบพิธีกัน
พิธีไหว้ครู หมายถึง การสำรวมใจรำลึกถึงพระคุณของบรมครูที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์
และพร้อมใจกันเปล่งเสียงวาจาด้วยความเคารพตามครูผู้กระทำพิธีขณะอ่านโองการ

พิธีครอบครู เป็นพิธีที่นิยมกันมาช้านาน หมายถึง การนำศีรษะครูมาครอบ (เพื่อรับเป็นศิษย์) และครูจะคอยควบคุมรักษา
คอยช่วยเหลือให้ศิษย์มีความจำในกระบวนท่ารำ จังหวะดนตรี หากมีสิ่งใดที่ไม่งามจะเกิดขึ้นกับศิษย์
ครูจะช่วยปัดเป่าให้พ้นจากตัวศิษย์ พิธีครอบครูนั้นนับว่าเป็นการทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจว่าครูจะคุ้มครองรักษา
ครูจะช่วยเหลือแม้จะรำผิดพลาดไปบ้าง จะทำให้ผู้เรียนไม่ตระหนกตกใจจนเกินไป เพราะมีความเชื่อมั่นว่าตัวเองได้
ทำพิธีครอบครูแล้ว ครูคงให้อภัยในความผิดพลาด อีกประการหนึ่งพิธีครอบครูนั้น ผู้ศึกษานาฏศิลป์ทุกคนถือว่า
เป็นพิธีสำคัญ และจำเป็นสำหรับผู้ศึกษาปฏิบัติท่ารำที่อยู่ในระดับสูง เช่น การรำเพลงหน้าพาทย์
ก่อนจะรำผู้ศึกษาต้องผ่านพิธีครอบครูก่อนจึงจะต่อท่ารำได้

การบูชาพ่อแก่

การจัดตั้งหิ้งบูชา
การจัดตั้งหิ้งบูชา.จะต้องหันหน้าไปทางทิศ ๑.เหนือ ๒.ตะวันออกเฉียงเหนือ ๓.ตะวันออก เท่านั้น
ที่เหลืออีก 5 ทิศเป็นทิศที่ไม่เป็นมงคล ควรไว้รองจากพระพุทธรูป การจัดตั้งเครื่องสังเวยหน้าหิ้งบูชา
ควรจัดข้าวน้ำ ผลไม้ให้ครบองค์กร กล้วยสุก มะพร้าวอ่อน ขนุน ขนมถ้วยฟู ต้มแดง ต้มขาว คันหลาว
หูช้าง ขนมถั่ว-ขนมงา เครื่องกระยาบวช ทั้ง ๕ คือ ๑.กล้วยบวชชี ๒.ฟักทองแกงบวช ๓.เผืกแกงบวช
๔.มันแกงบวช ๕.ขนมบัวลอย จะทำรวมกันเป็นที่เดียวก็ได้ ถ้าหากมีทุเรียน ทับทิม ฟักเงิน(ฟักทอง) แตงไทย
แตงกวา แตงโม สัปปะรด จะเป็นมงคลยิ่ง โดยเฉพาะกล้วยควรใข้กล้วยน้ำไทย หาไม่ได้ก็ไช้ กล้วยน้ำว้า
พิธีเช่นนี้จะขาดไม่ได้คือ บายสีปากชาม ถ้าหากว่าจะทำได้มากกว่านี้ ก็ยิ่งเพิ่มบารมีมากขึ้นอีก เช่น บายสีพรหม
บายสีเทพ บายสีตอ เป็นต้นการจัดตั้งหิ้งถ้าหากเจตนาอัญเชิญเทพไม่ควรจะมีของคาว ควรจะจัดเพิ่มให้มีนม
เนย เผือก มัน ทั้งดิบ และสุก ถั่วงา ทั้งสุกและดิบ ให้ครบ
ทุกๆ พิธี จะต้องมี น้ำร้อน น้ำชา หมากพลู บุหรี่ น้ำเปล่า ตั้งเอาไว้ประจำไม่ต้องลา ทั้งกล้วย อ้อย มะพร้าวอ่อน
ปูอาสนะด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์เครื่องใช้ทุกชิ้น ไม่ว่าจะเป็นอะไรทุกอย่างจะต้องเป็นของใหม่ๆ ทุกอย่าง

ผลไม้ที่เป็นมงคล
๑.ขนุน ๒.ทุเรียน ๓.กล้วยหอม ๔.ทับทิม ๕.ลูกอินทร์ ๖.ลูกจันทร์ ๗.องุ่น ๘.แตงไทย ๙.มะม่วง ๑๐.ลูกเกตุ
๑๑.ลูกตาล ๑๒.ลูกอินทผลัม ๑๓.แอปเปิ้ล ๑๔.ลิ้นจี่ ๑๕.ลำใย ๑๖.สัปปะรด

ผลไม้ที่ห้ามขึ้นหิ้งบูชา
๑.ละมุด ๒.มังคุด ๓.พุทรา ๔.น้อยหน่า ๕.น้อยโหน่ง ๖.มะเฟื่อง ๗.มะไฟ ๘.มะตูม ๙.มะขวิด ๑๐.กระท้อน
๑๑.ลูกพลับ ๑๒.ลูกท้อ ๑๓.ระกำ ๑๔.ลูกจาก ๑๕.รางสาด




ความหมายของเครื่องราง-ของขลัง เเบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

1. เครื่องราง หมายถึง วัตถุใดๆที่พระเกจิอาจารย์ได้ทำการปลุกเสกขึ้นมาเพื่ออุปเท่ห์ในการใช้
เช่น ตะกรุดทองเเดงหรือตะกั่ว ผ้ายันต์ ลูกอม ฯลฯ

2. ของขลัง หมายถึง ของทนสิทธิ์ วัตถุใดๆที่มีดีในตัวเอง โดยพระเกจิอาจารย์ไม่ได้ทำการปลุกเสก
เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น เขี้ยวเสือกลวง เขี้ยวหมูตัน เขากวางคุด ข้าวสารหิน ไม้ไผ่ตัน ฯลฯ

3. เครื่องราง-ของขลัง หมายถึง ของขลังใดๆที่มีดีในตัว ที่ได้ผ่านกรรมวิธีปลุกเสกหรือลงอักขระ
โดยพระเกจิอาจารย์ เช่น ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ตะกรุดไม้ไผ่ตัน เขี้ยวเสือกลวงลงอักขระ เบี้ยเเก้ ไม้ครู ฯลฯ

เบญจภาคีเครื่องราง-ของขลัง มีดังนี้

1. ตะกรุดมหาโสฬสมงคล หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง
2. เบี้ยเเก้ หลวงปู่รอด วัดนายโรง
3. ปลัดขิก หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
4. เขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (คลองด่าน)
5. หนุมาน หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน

9 เครื่องราง-ของขลังยุคเก่าอันทรงคุณค่า

" หมากดีที่วัดหนัง ถ้าเบี้ยขลังวัดนายโรง
ไม้ครูอยู่คู่วัดอินทร์ ส่วนมีดบินวัดหนองโพธิ์
พิสมรวัดพวงมาลัย ครั่งเหลือร้ายวัดโตนดหลวง
ราหูคู่วัดศรีษะฯ เเหวนอักขระวัดหนองบัว
ลูกเเร่ที่วัดบางไผ่ ฤทธิ์เหลือร้ายหาใดปาน
เก้าสิ่งล้วนเป็นมงคล ทั่วทุกคนควรค้นหา
ติดกายยามญาตตรา ภัยมิกล้ามาเเพ้วพาน"

เครดิต : anchalit